‘รมว.คลัง-ผู้ว่าธปท.’ตกลงร่วมกัน กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 66 ไว้ 1-3%

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เรื่องเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 66 ซึ่งอยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ได้อนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.65 โดยเป้าหมายนโยบายการเงินในปี 66 เป็นความตกลงร่วมกันระหว่าง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง และนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะประธาน กนงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1-3% ซึ่งคงเป้าหมายเดิมจากปีก่อน และมองว่าเงินเฟ้อยังมีความผันผวนและไม่แน่นอนสูง การปรับเป้าหมายอาจทำให้เกิดความสับสนได้

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและ ธปท.จะร่วมมือกันทำนโยบายการคลังและนโยบายการเงินให้ประสานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวมั่นคงและยั่งยืน เน้นการเพิ่มผลิตภาพ และสร้างรายได้ให้กับประชาชน โดย กนง.จะจัดทำรายงานผลดำเนินนโยบายการเงินทุกครึ่งปี จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินช่วงที่ผ่านมา, แนวทางดำเนินนโยบายการเงินในช่วงต่อไป และการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อแจ้งให้รมว.คลังรับทราบ รวมทั้งจะเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินทุกไตรมาส

นอกจากนี้ กนง.ได้ประเมินว่าเงินเฟ้อทั่วไปถึงจุดสูงสุดแล้วเมื่อไตรมาส 3 ปี 65 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มทยอยปรับลดลงจนเข้าสู่กรอบ 1-3% ได้ในปี 66 แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ทั้งปัจจัยนอกประเทศ การส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อได้ในอนาคต แต่หากเงินเฟ้อทั่วไป 12 เดือนที่ผ่านมา หรือ 12 เดือนข้างหน้าออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง.จะต้องมีจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.คลัง ชี้แจงสาเหตุ แนวทางนโยบายการเงิน และระยะเวลาที่คาดว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบ

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาและหลังจากนี้ คือ เกิดการระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา แม้จะคลี่คลายลงแล้วในตอนนี้ แต่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างมากจากการลดลงของอุปทานพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตโลก ส่งผลให้เงินเฟ้อไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับสูงขึ้น จากราคาพลังงานและราคาสินค้าปรับเพิ่มตามราคาตลาดโลก และการส่งผ่านต้นทุนสูงขึ้นของผู้ประกอบการไปยังราคาสินค้าและบริการ

อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อในช่วงข้างหน้าคาดว่าจะปรับลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในปี 66 เมื่อแรงผลกระทบต่างๆ ทยอยคลี่คลายลง โดยเงินเฟ้อไทยในระยะปานกลางยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะด้านพลังงานและภูมิรัฐศาสตร์ การทวนกระแสโลกาภิวัฒน์ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวที่อาจเกิดขึ้นเร็วขึ้น

“กระทรวงการคลังและ ธปท.จะหารือร่วมกันเป็นประจำ หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นตามที่ 2 หน่วยงานจะเห็นสมควร เพื่อให้สามารถเป็นไปตามเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินเป็นไปในทิศทางที่สอดประสานกัน”.

Related Posts

Copyright © 2025 Simonlyabonnementenvergelijken. All Right Reserved.